งานประชุมสุดยอดอุตสาหกรรมเกษตรระดับภูมิภาค (AGRITECHNICA ASIA & HORTI ASIA Regional Summit) ได้สำเร็จตามเป้าหมายสำหรับงานรูปแบบไฮบริดครั้งแรก
- ต้อนรับผู้เข้าร่วมงานมากกว่า 1,000 คน จาก 34 ประเทศ
- การประชุมแบบออนไลน์และออนไซต์ พร้อมนิทรรศการและการเยี่ยมชมแปลงสาธิต
- เจ้าภาพร่วมจัดงานโดย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์แห่งประเทศไทย
- ประเด็นต่างๆ ในการประชุมสัมมนา: การผลิตอ้อย มันสำปะหลัง ข้าวและข้าวโพด ตลอดจนการเกษตรแม่นยำ การอารักขาพืช การจัดการน้ำ การเกษตรแบบคลัสเตอร์ฟาร์ม การเกษตรแนวตั้ง และโอกาสทางการตลาดใหม่ๆ
งานประชุมสุดยอดอุตสาหกรรมเกษตรระดับภูมิภาค หรือ AGRITECHNICA ASIA & HORTI ASIA Regional Summit ในรูปแบบไฮบริดใหม่ได้ประสบความสำเร็จและปิดงานประชุมทั้งสองวันลงเมื่อวานนี้ (16-17 พฤศจิกายน 2564) ภายใต้ธีมการจัดงาน “การผลิตอัจฉริยะสำหรับระบบอาหารที่ยั่งยืน” สามารถดึงดูดผู้เข้าร่วมงานในครั้งนี้ได้จำนวนมากกว่า 800 คน จาก 34 ประเทศ เข้าชมงานผ่านระบบออนไลน์เสมือนจริง พร้อมด้วยผู้เข้าชมงานที่สถานที่จัดงานจริงมากกว่า 240 คน โดยมีการจัดงานประชุมขึ้นที่จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย ซึ่งมีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แห่งประเทศไทย เป็นเจ้าภาพร่วมในการจัดงานประชุมสุดยอดดังกล่าวนี้ ซึ่งถือว่าเป็นงานเกษตรกรรมระดับนานาชาติที่สามารถเข้าร่วมงานได้จริงทั้งสองรูปแบบที่ใหญ่ที่สุดงานหนึ่งที่มีการจัดขึ้นในประเทศไทยในปีนี้
ทั้งนี้ การประชุมได้ครอบคลุมหัวข้อเรื่องการผลิตพืชที่กำลังเป็นที่นิยมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น การทำเกษตรแบบคลัสเตอร์และการทำเกษตรแนวตั้ง ตลอดจนการผลิตน้ำตาลและมันสำปะหลังอย่างยั่งยืนโดยใช้เทคนิคที่ทันสมัย โดยมีผู้บรรยายทั้งที่อยู่ในสถานที่และแบบออนไลน์มากกว่า 90 คน จากประเทศไทยและทั่วโลก รวมถึงผู้เชี่ยวชาญจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทย ซึ่งได้นำเสนอองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องจากการประชุมสุดยอดระบบอาหารแห่งสหประชาชาติประจำปีนี้
“ในฐานะผู้ร่วมจัดงาน เราพอใจมากกับความสำเร็จของงานในครั้งนี้ ซึ่งยังคงยืนหยัดจัดงาน นอกจากนี้ยังมีความท้าทายใหม่สำหรับการจัดงานในรูปแบบดิจิทัลเสมือนจริง ผ่านรูปแบบการจัดงานแบบไฮบริดซึ่งเข้ากันได้เป็นอย่างดี ในส่วนของประเด็นหลักที่เรานำเสนอในงานสัมมนา คือเรื่องของระบบอาหารที่ยั่งยืนในประเทศไทย เราต้องการการดำเนินการจริงและความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อไป ผ่านงานประชุมสุดยอดอุตสาหกรรมเกษตรระดับภูมิภาคครั้งนี้ กระทรวงเกษตรฯ สามารถเข้าถึงผู้คนในอุตสาหกรรมมากขึ้น สร้างความตระหนักรู้ในหลายภาคส่วน ตลอดจนการสร้างเครือข่ายทางการเกษตรระดับชาติ-ระหว่างประเทศ” ดร.วนิดา กำเนิดเพ็ชร์ ผู้อำนวยการสำนักการเกษตรต่างประเทศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประเทศไทย กล่าวเสริม “ในปีหน้านี้ เราจะตั้งตารอคอยการกลับมาของงาน AGRITECHNICA ASIA และ HORTI ASIA 2022 ซึ่งเราต้องการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในรูปแบบปกตินี้อย่างแน่นอน” ดร.วนิดา กล่าวเสริม
“งานประชุมสุดยอดอุตสาหกรรมเกษตรระดับภูมิภาคครั้งนี้เป็นโอกาสที่ดีที่ผู้คนในอุตสาหกรรมจะกลับมาพบปะกันเพื่ออัปเดตข่าวสารความรู้ของพวกเขา ตลอดจนการนำเสนอเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ ภายในงาน สำหรับประเด็นหลักที่เรามีการนำเสนอจะมุ่งเน้นเรื่อง สถานการณ์ปัจจุบัน และแนวโน้มของการทำฟาร์มอัจฉริยะในประเทศไทยในปัจจุบันและในอนาคตให้แก่ผู้เข้าร่วมงานสัมมนา ซึ่งการจัดงานในรูปแบบไฮบริดนี้ถือเป็นเรื่องปกติใหม่ และเป็นประโยชน์สำหรับผู้เข้าร่วมงานที่สามารถเข้าถึงงานประชุมทั้งที่อยู่ห่างไกลจากสถานที่จัดงานผ่านทางระบบดิจิทัลเสมือนจริง ซึ่งเหมาะสมอย่างยิ่งในยุคนี้” ดร.ดาเรศร์ กิตติโยภาส ที่ปรึกษา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ นายกสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย กล่าวปิดท้าย
การใช้เครื่องจักร การเกษตรแม่นยำ และการผลิตที่ยั่งยืน
ในการประชุมเชิงปฏิบัติและเชิงเทคนิค ผู้เข้าร่วมประชุมได้รับทราบถึงภาพรวมเกี่ยวกับทิศทางในการใช้เครื่องจักรและอุปกรณ์สำหรับการผลิตอ้อย มันสำปะหลัง ข้าวและข้าวโพดแบบยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ โดยได้รับการสนับสนุนจากสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (IRRI) และองค์กรผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ รวมทั้งจากผู้ผลิตชั้นนำ เช่น CLAAS, CNH Industrial, Gessner และ John Deere โดยหนึ่งในจำนวนไฮไลท์เด่นของงานคือ แนวคิดใหม่ๆ เช่น การตรวจวัดดิน การจัดการปุ๋ยที่แม่นยำ เทคนิคหลังการเก็บเกี่ยว และวิธีแก้ปัญหาการเก็บรักษา ซึ่งผู้เยี่ยมชมได้รับข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับเทคนิคสมัยใหม่ในการบริหารจัดการน้ำรวมถึงการควบคุมความเค็ม
สำหรับหัวข้อการประชุม ‘Agriculture 4.0 – Precision Agriculture’ เป็นการนำเสนอโดยวิทยากรจากสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย (TSAE), Planet และ Varuna, AI and Robotics ที่ได้สำรวจทั้งบทบาทของการทำเกษตรแบบแม่นยำในประเทศไทยและการแก้ไขปัญหาที่มีอยู่ เช่น โดรนและเทคโนโลยีดาวเทียม ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ พร้อมตัวอย่างที่ใช้งานได้จริง เช่น Oz หุ่นยนต์กำจัดวัชพืช นำเสนอโดย Naio Technologies
หัวข้อที่กำลังเป็นที่นิยมในประเทศไทย: การเกษตรแม่นยำและการเกษตรแนวตั้ง
การประชุมนี้ได้รับการสนับสนุนโดยกระทรวงอาหารและการเกษตรแห่งสหพันธรัฐเยอรมันสำหรับ “Clusterfarm Future Conference ครั้งที่ 1” ซึ่งรายงานเกี่ยวกับโครงการการเกษตรแบบคลัสเตอร์ที่ประสบความสำเร็จที่ได้มีการจดทะเบียนฟาร์มถึง 8,000 แห่ง นับตั้งแต่เริ่มดำเนินการในปี 2559 โดยมีกรมส่งเสริมการเกษตรของไทยเป็นผู้นำในการดำเนินโครงการซึ่งมีเป้าหมายที่จะเพิ่มประสิทธิภาพของฟาร์ม พร้อมด้วยผู้ปฏิบัติงาน วิทยากรผู้เชี่ยวชาญระดับประเทศและระดับนานาชาติจากทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาครัฐ ซึ่งขอบเขตของการประชุมครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกในประเทศไทย
โดยที่การผลิตอาหารแบบ plant-based ในพื้นที่เขตเมืองนั้นได้มอบทั้งโอกาสและความท้าทายซึ่งได้รับการสำรวจจากการนำเสนอของสมาคมการเกษตรแนวตั้ง (Association for Vertical Farming)
นอกจากการนำเสนอของผู้เชี่ยวชาญที่มีชื่อเสียงจากองค์กรมืออาชีพแล้ว ผู้ให้บริการทางด้านเทคโนโลยียังได้นำเสนอวิธีการแก้ปัญหาของตนด้วย ทั้งนี้ วิทยากรและผู้แสดงสินค้าต่างๆ นั้นมาจากหลายประเทศ เช่น ออสเตรีย ออสเตรเลีย แคนาดา กัมพูชา ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี มาเลเซีย เนเธอร์แลนด์ ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน ไทย สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา
การเยี่ยมชมฟาร์มและพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการในประเทศไทย
“สำหรับ การประชุมสุดยอดครั้งนี้ได้จัดขึ้นที่โรงแรม อิมพีเรียล โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ โคราช ในจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นศูนย์กลางการผลิตข้าว มันสำปะหลัง และอ้อยในประเทศไทย ผู้เยี่ยมชมสามารถชมฟาร์ม ‘505 FarmTech’ ซึ่งแสดงการใช้อุปกรณ์ของ CLAAS JAGUAR ที่ทำการเก็บเกี่ยวพืชหมักแบบสด การเก็บขยะ และเทคนิคการอัดเป็นแท่งที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กันจากผู้เข้าร่วมงาน” ซึ่ง คุณปนัดดา ก๋งม้า ผู้อำนวยการ ฝ่ายธุรกิจการเกษตร-ปศุสัตว์และฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค ได้อธิบายไว้
จาก “จำนวนผู้เข้าร่วมงานที่สูงทั้งทางออนไลน์และแบบออนไซต์นั้นเป็นการแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่าผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตรยังคงมุ่งมั่นที่จะสำรวจหาความรู้ใหม่ๆ และเชื่อมต่อกับผู้ที่เป็นมืออาชีพด้านอื่นๆ ในอุตสาหกรรมต่อไป ซึ่งความต้องการในการสร้างเครือข่ายในอุตสาหกรรมของเรา” คุณ Katharina Staske กรรมการผู้จัดการของ DLG Thai กล่าวสรุป
โดยงานประชุมสุดยอดอุตสาหกรรมเกษตรระดับภูมิภาค หรือ AGRITECHNICA ASIA & HORTI ASIA Regional Summit นั้นถือเป็นครั้งแรกของ “AGRITECHNICA On Tour” ซึ่งเป็นงานชุดใหม่ โดยจะมีการสำรวจหัวข้อเครื่องจักรกลการเกษตรที่กำลังเป็นที่นิยมในประเทศหรือภูมิภาคในแต่ละครั้ง
การสนทนาแบบโต้ตอบกับผู้เชี่ยวชาญและการสร้างเครือข่ายแบบตัวต่อตัว
ในงานนี้ได้มีการอนุญาตให้ถามคำถามแบบโต้ตอบได้อย่างต่อเนื่องในระหว่างการนำเสนอและผู้เข้าร่วมประชุมสามารถใช้โอกาสในการสร้างเครือข่ายในห้องประชุมหลังจากการพูดคุย ซึ่งรวมถึงการสื่อสารด้วยเสียง วิดีโอ หรือการสนทนา โดย DLG-Connect หรือ www.dlg-connect.com ซึ่งได้รับการออกแบบโดยผู้จัดงานของ AGRITECHNICA และ DLG – German Agricultural Society โดยที่ DLG-Connect ได้เคยจัดกิจกรรมระดับมืออาชีพมาแล้วมากกว่า 400 รายการ
The Official Supporters of the summit were: Thailand Convention and Exhibition Bureau and The Federation of Thai Industries, Nakhonratchasima Chapter.
AGRITECHNICA ASIA & HORTI ASIA Regional Summit is organized by DLG (German Agricultural Society) and VNU Asia Pacific.
ผู้สนับสนุนการประชุมสุดยอดอย่างเป็นทางการ ได้แก่ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการและสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ภาคการประชุมจังหวัดนครราชสีมา และ การประชุมสุดยอดอุตสาหกรรมเกษตรระดับภูมิภาค AGRITECHNICA ASIA & HORTI ASIA Regional Summit จัดโดย DLG (สมาคมเกษตรกรรมแห่งเยอรมนี) และ วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค
สื่อมวลชน กรุณาติดต่อ:
Rainer Winter
โทร: +49 6924788 212
อีเมล: r.winter@dlg.org
Malene Conlong
โทร: +49 6924788237
อีเมล: M.conlong@dlg.org
คุณแสงทิพ เตชะปฏิภาณดี
โทร: 02 111 6611 ต่อ 330
อีเมล: saengtip@vnuasiapacific.com
Leave a Reply
Want to join the discussion?Feel free to contribute!